Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนกันยายน 2556
โดย oorrunningblog
ปัจจุบัน แม้องค์กรหลายแห่งจะสนับสนุนให้พนักงานหันมาออกกำลังกายอย่างจริงจัง แต่เรามักได้ยินเหตุผลต่อการผัดผ่อนโอกาสดีๆ ที่องค์กรหยิบยื่นให้อยู่เนืองๆ อาทิเช่น ต้องทำงานรอบดึก งานยุ่ง ไม่มีเวลา ไม่ว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นเหตุผลจริงๆ หรือเป็นเพียงข้ออ้าง วันนี้วิ่งทันโลกมีเรื่องราวของ “นักวิ่งออฟฟิศ” อย่างเราๆ ท่านๆ คนหนึ่งมาฝากค่ะ
เรื่องของเขาเป็นประเด็นที่ถูกกล่าวขวัญถึงในวงการวิ่งมาราธอนอย่างกว้างขวางเมื่อไม่นานมานี้ เพราะไม่เพียงแต่บริหารเวลาเพื่อฝึกซ้อมจนวิ่งเต็มมาราธอนได้ เขายังทำสถิติได้ดีในระดับประเทศอีกด้วย ลองอ่านเรื่องของ ยูกิ คาวาอูชิ เพื่อเป็นแรงบันดาลใจดูค่ะ
ในที่สุดเขาจึงได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการอย่าง กักคุชูอิน แทน ขณะที่ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่แต่เขาก็ยังไม่ทิ้งฝันเรื่องวิ่ง เมื่อต้องจัดการเป้าหมายทั้งสองสิ่งให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยกัน เวลา 4 ปีในมหาวิทยาลัยจึงบ่มเพาะอุปนิสัยสำคัญที่ติดตัวเขามาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
Cr. flickr.com
คาวาอูชิเกิดที่โตเกียว เขาเริ่มวิ่งระยะไกลมาตั้งแต่ ป.1 โดยมีแม่เป็นโค้ช จนได้เป็นนักวิ่งของโรงเรียนในระดับมัธยม แต่การบาดเจ็บทำให้สถิติของเขาไม่ดีพอที่จะได้รับเลือกเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยมีชื่อเสียงด้านการวิ่งอย่างวาเซดะ โตโย หรือโคมาซะวะ ด้วยโควตานักกีฬา ในญี่ปุ่นการได้เป็นนักวิ่งของมหาวิทยาลัยเหล่านี้ถือเป็นโอกาสทอง เพราะบริษัทต่างๆในญี่ปุ่นจะยื่นข้อเสนอให้พวกเขาเข้ามาเป็นนักวิ่งในสังกัด สนับสนุนเงินและให้งานทำหลังเรียนจบ กลายเป็นนักกีฬาอาชีพที่ไม่ต้องกังวลเรื่องปากท้องอีกต่อไปในที่สุดเขาจึงได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงด้านวิชาการอย่าง กักคุชูอิน แทน ขณะที่ตั้งใจเรียนอย่างเต็มที่แต่เขาก็ยังไม่ทิ้งฝันเรื่องวิ่ง เมื่อต้องจัดการเป้าหมายทั้งสองสิ่งให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยกัน เวลา 4 ปีในมหาวิทยาลัยจึงบ่มเพาะอุปนิสัยสำคัญที่ติดตัวเขามาจนถึงทุกวันนี้ นั่นคือ การใช้เวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
Cr: nnr.co.jp
ภายใน 3 ปี ฝีเท้าของเขาพัฒนาขึ้นเรื่อยๆจนได้เป็นนักวิ่งคนแรกของมหาวิทยาลัย ที่ได้รับเลือกให้เข้าแข่งขันวิ่งผลัดระยะไกลแห่งเมืองฮาโกเน่ (Hakone Ekiden) ซึ่งเป็นการแข่งขันที่ได้รับความนิยมสูงสุดในญี่ปุ่น เริ่มมีบริษัทสนใจรับเขาเป็นนักวิ่งอาชีพในสังกัด แต่คาวากูชิพอใจแนวทางชีวิตแบบนี้เสียแล้ว เขาปฏิเสธข้อเสนอ และบ่ายหน้าสู่เส้นทางการเป็นข้าราชการในที่สุด
หลังเรียนจบ คาวาอูชิสอบเข้ารับราชการในโรงเรียนหลวงภาคค่ำแห่งหนึ่งในจังหวัดไซตามะ ทำงานตั้งแต่บ่ายโมงถึงสามทุ่ม ด้วยอุปนิสัยที่ติดตัวมา เขาจึงสามารถหาเวลาซ้อมและสะสมระยะได้โดยเฉลี่ยถึง 130 กม.ต่อสัปดาห์ ด้วยตารางซ้อมจากโค้ชสมัยเรียนมหาวิทยาลัย ในแต่ละสัปดาห์การซ้อมจะประกอบด้วยการวิ่งหนักเพียง 2 ครั้งคือลงคอร์ตและวิ่งยาว ที่เหลือเป็นการวิ่งสบายๆ การที่มีเวลาซ้อมอย่างจำกัดในอีกแง่หนึ่งก็เป็นผลดี เพราะยิ่งทำให้เขาพยายามทุ่มเทให้กับการซ้อมแต่ละครั้งอย่างสุดกำลังหลังจากทำงานได้เพียง 2 ปี โลกทั้งโลกก็หันมามองชายวัย 24 ปีผู้นี้ คาวาอูชิ เข้าเส้นชัยเป็นอันดับ 3 ในโตเกียวมาราธอนปี 2011 ด้วยเวลา 2:08:37 ชั่วโมง ได้รับสิทธิ์เข้าร่วมทีมชาติเพื่อแข่งขันมาราธอนในงาน IAAF World Track and Field โดยอัตโนมัติ ปัจจุบันสถิติมาราธอนของเขาพัฒนาขึ้นมาที่ 2:08:14 ชั่วโมงแล้ว
หัวใจของความสำเร็จของเขาคือ ซ้อมให้หนัก รักษาร่างกายให้ดี และเหนือสิ่งอื่นใดต้องสนุกกับมัน “การซ้อมหนักแค่เพื่อให้ได้ชื่อว่าซ้อมหนักไม่ทำให้เกิดผลดี คุณต้องระวังการบาดเจ็บและซ้อมอย่างมีประสิทธิภาพด้วย อย่าลืมว่าคุณซ้อมเพราะรักการวิ่ง ผมคิดว่านักกีฬาจะซ้อมได้อย่างมีความสุขก็ต่อเมื่อเขาสามารถรักษาร่างกายให้ห่างไกลจากความบาดเจ็บ” คาวาอูชิทิ้งท้ายไว้เช่นนี้
**update 15/11/56**
มีคลิปยูทูปภาษาญี่ปุ่น เกี่ยวกับเรื่องของคาวาอูชิมาเพิ่มเติมค่ะ เครดิตคุณ MaxGeo จากกระทู้ในพันทิป http://pantip.com/topic/31213181
=================================
ทดลองอ่านนิตยสาร Thai Jogging Magazine ฉบับย้อนหลัง
สักวัน สักวัน จะต้องมีความรู้สึกภาคภูมิใจกับเค้าบ้างให้ได้บ้าง......
ReplyDeleteแค่นี้ก็เก่งมากแล้วค่ะ ชื่นชมๆ
Deleteได้อ่านใน Thai Jogging มาก่อน เป็นบทความที่เปิดมุมมองใหม่เกี่ยวกับการฝึกซ้อมให้ผมครับ :)
ReplyDeleteเย้ ดีใจๆ มีคนอ่านคอลัมน์เค้าด้วย ^__^
Deleteอยากฟังภาษาญี่ปุ่นออกจัง จะได้รู้รายละเอียดว่าเค้าซ้อมยังไง เนอะๆ
นักกีฬาญี่ปุ่นหลายๆคน ทำให้ผมเห็นว่านักกีฬาเอเชีย
ReplyDeleteก็มีความสามารถไม่เเพ้นักกีฬาจากชาติไหนๆ
ตั้งแต่กลับจากเที่ยวญป. ก็ดูช่อง NHK world ตลอด
Deleteอย่างนึงที่สัมผัสได้คือ คน ญป.ให้คุณค่ากับความพยายาม เหนือกว่า พรสวรรค์
เราคิดว่าสิ่งนี้แหละค่ะ ที่ทำให้นักกีฬา ญป. มีความสามารถมากกว่าประเทศเอเชียอื่นๆ โดยเฉลี่ย
คนนี้นี่ไอดอลเลยครับ
ReplyDeleteไอดอลดีมีขัยไปกว่าครึ่ง สู้ๆค่ะ
Deleteบอสตันมาราธอน 2018 ล่าสุดนี้ แชมป์ของรายการก็คือเขานี่แหละ ด้วยเวลา 2 ช.ม. 15 นาที่ ... วินาที
ReplyDeleteเหมาะสมกับตำแหน่งผู้ชนะทุกประการ
Deleteถึงเวลาจะผ่านไป
ReplyDeleteแต่ก็ไม่เคยทิ้งความฝัน
เป็นบุคคลที่สุดยอดจริงๆ