บทความนี้ข้าพเจ้าภูมิใจนำเสนอมาก เพราะทอดตาทั่วแผ่นดิน ยังไม่เห็นฝรั่งเขียนเลยสักคน (หรือเราอาจหาไม่เจอเองก็ได้ 555+) และต้องใช้วิทยายุทธในการขุดคุ้ยพอสมควร จริงๆมีข้อมูลในแง่เทคนิคอีกเยอะ แต่ขอเอามาเล่าให้คนทั่วไปอ่านแค่นี้ ใครสนใจแบบเจาะลึกก็ลองเข้าไปดูตามลิงค์ใน Reference ที่ให้ไว้นะคะ
Nike plus sensor เป็นเซ็นเซอร์แบบ piezoelectric เพื่อดูว่าเท้าเรากระทบพื้นเมื่อไหร่ และค้างอยู่กับพื้นนานแค่ไหน เพราะจากงานวิจัยพบว่า เราสามารถเชื่อมโยงระยะเวลาที่เท้าแช่พื้นกับความเร็วได้โดยตรง
ยกตัวอย่างเช่น จากรูป จะเห็นว่าไม่ว่าพื้นจะราบ เอียงขึ้น(เทียบได้กับการขึ้นเขา) หรือเอียงลง(เทียบได้กับการลงเนิน) ผู้เข้าทดสอบที่วิ่งด้วยความเร็ว 11 ฟุต/วินาที ก็จะแช่เท้าที่พื้นเป็นเวลาประมาณ 0.25 วินาทีทั้งนั้น ส่วนผู้ที่วิ่งด้วยความเร็ว 16 ฟุต/วินาที ก็จะแช่เท้าที่พื้นเป็นเวลาประมาณ 0.20 วินาทีทั้งนั้น (ยิ่งแช่เท้านาน ยิ่งวิ่งช้า) ดังนั้น ถ้าเราสามารถวัดได้ว่า นักวิ่งคนหนึ่งแช่เท้าที่พื้นนาน 0.2 วินาที ก็สามารถบอกได้เลยว่า ขณะนั้น เขามีความเร็ว 16 ฟุต/วินาที โดยไม่จำเป็นต้องรู้ว่าคนคนนั้นกำลังวิ่งขึ้นเขาหรือลงห้วยอยู่
อย่างไรก็ตาม จะเห็นว่าจริงๆแล้วค่าเวลาการแช่เท้าสำหรับความชันแต่ละแบบไม่ได้เท่ากันเป๊ะ สิ่งนี้เองที่ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนประมาณ 5% ซึ่งถือว่ามากเกินไปสำหรับสายงานด้าน Biomechanics งานวิจัยนี้เลยถูกเก็บขึ้นหิ้งไป แต่ Nike คิดว่า ถ้าเอามาใช้สำหรับวัดระยะทางการวิ่ง ความคลาดเคลื่อนเพียงแค่นี้ก็ถือว่าสุดยอดแล้ว
Foot pod ไม่ว่าจะเป็นของ Polar, Suunto หรือ Garmin จะใช้เซ็นเซอร์วัดความเร่งชนิดหนึ่งที่เรียกว่า MEMS (Micro ElectroMechanical Systems) ซึ่งสามารถวัดความเร่งได้ทั้ง 3 แกนคือ หน้าหลัง ซ้ายขวา และบนล่าง เมื่อนำมาติดกับหลังเท้า ก็จะทำให้รู้ความเร่งทั้ง 3 แกนของเท้า ดังนั้นเมื่อนำความเร่งทั้ง 3 มาหาเวคเตอร์ลัพธ์ ก็จะทำให้รู้ความเร่งในแนวทิศทางการเคลื่อนที่ของเราได้ โดย foot pod จะคำนวณความเร่งก้าวละหนึ่งครั้ง เมื่อรู้ความเร่ง+วัดเวลาได้ ก็จะสามารถคำนวณความเร็ว และระยะทางของแต่ละก้าวได้ตามลำดับ
ถามว่า foot pod รู้ได้ยังไงว่าเราก้าวไป 1 ก้าวแล้ว คำตอบคือ มันจะดูรูปแบบของความเร่งในแกนบนล่างของเท้าเรา ด้วยการประมวลผลของ Digital Signal Processing ดังรูป
จากรูปจะเห็นว่า 1 ก้าว ก็คือเวลาตั้งแต่ส้นกระทบพื้น หรือ heel strike (จริงๆจะเอาอะไรกระทบ มันก็รู้หมดน่ะนะ :p) ถึงส้นกระทบพื้นอีกครั้งนั่นเอง ซึ่งจากรูปใช้เวลาประมาณ 0.7 วินาที ดังนั้นถึงแม้รูปแบบการวิ่ง หรือความยาวช่วงก้าวจะเปลี่ยนไป มันก็ยังรู้อยู่ดี
เมื่อลองทดสอบความถูกต้องของความเร็วที่คำนวณได้ (กราฟสีแดง) โดยให้ติด foot pod วิ่งในภูมิประเทศจริง (ไม่ใช่บนลู่ไฟฟ้า) พร้อมทั้งเข็นรถเข็นเด็กซึ่งติดที่วัดความเร็วแบบมาตรฐานไว้ด้วย (กราฟสีน้ำเงิน) พบว่าได้ค่าที่ใกล้เคียงกันมาก
เปรียบเทียบความแม่นยำ
Nike อ้างว่า ความแม่นยำขณะยังไม่คาลิเบรต ไม่น้อยกว่า 90% ถ้าคาลิเบรตแล้วจะแม่นยำขึ้น แต่ไม่ได้บอกว่าเท่าไหร่
Garmin อ้างว่า ความแม่นยำขณะยังไม่คาลิเบรต ประมาณ 98% และถ้าคาลิเบรตแล้วจะแม่นยำถึง 99%
========
ในเบื้องต้นขอให้ข้อมูลไว้แค่นี้ก่อนนะคะ เอาไว้หา Nike+ sensor มาทดสอบได้แล้ว จะเขียนภาคสองต่อไป ^ ^
อ้างอิง
ขอบคุณสำหรับข้อมูลดีๆ ที่มีมาให้อ่านเสมอ ^^
ReplyDeleteยินดีค่ะคุณโจ้ ขอบตุณเช่นกันที่เข้ามาอ่านนะคะ
ReplyDeleteข้อมูลแน่นปึ๊กเลยนะครับ :)
ReplyDeleteนิดนุงส์ ^___^
Deleteได้เซนเซอร์ยังครับ ยินดีสนับสนุนนะครับ
ReplyDeleteขอบคุณค่ะคุณอ้วน
Deleteเซ็นเซอร์มี แต่ต้องขออุปกรณ์ประกอบอาทิเช่น Nike+ Band หรือ Iphone ด้วยทั้งยวงอะค่ะ อิอิอิ
จริงๆก็คือ เดี่ยวเดือนหน้าเราจะไปเยือนบ้านพี่สาวคนนึงที่เป็น Brand Am ของไนกี้
คิดว่าจะไปหักคอยื้มใช้ ทั้งเซ็นเซอร์และรองเท้าที่โน่นเลยอะค่ะ ^___^
that was really a nice one . keep this work up.
ReplyDeleteLed tv Repairing Course
Led tv Repairing Institute
LED LCD Repairing institute
Laptop on rent in gurgaon
love this type of informstive blogs keep this type of blogs up.
ReplyDeleteled lcd tv repairing institute in delhi
Laptop on Rent in Delhi