คงเคยได้ยินกันมานานแล้ว ว่าการออกกำลังกายทำให้สดชื่น เบิกบาน สุขภาพจิตดีขึ้น แต่ถ้าถามต่อไปว่า “การออกกำลังกาย” ที่ว่านี้ต้องทำมากน้อยแค่ไหน ครั้งละ 30 นาที อาทิตย์ละ 3 ครั้งพอมั้ย หรือว่าต้องครั้งละ 1 ชั่วโมง อาทิตย์ละ 5 วัน ถึงจะทำให้เรามีสุขภาพจิตที่ดี งานวิจัยต่อไปนี้อาจให้คำตอบคุณได้
นักวิจัยได้สอบถามชาวอเมริกันจำนวน 7,674 คน ด้วยคำถาม 2 ข้อ ข้อที่หนึ่ง เป็นแบบสอบถามเพื่อหา “คะแนนความหดหู่” (depression score) (นั่นแปลว่า คะแนนยิ่งเป็นลบมากเท่าไหร่ สุขภาพจิตยิ่งดีมากขึ้นเท่านั้น) ข้อที่สอง สอบถามจำนวนชั่วโมงที่ใช้ออกกำลังกายภายใน 1 สัปดาห์
จากนั้นนำคำตอบทั้งสองข้อของแต่ละคนมาพล็อต แล้วปรับให้เป็นกราฟที่ต่อเนื่องสวยงามด้วยวิธีทางคณิตศาสตร์
จากกราฟสามารถสรุปได้ดังนี้
1) แค่ออกกำลังกายเพียงน้อยนิด(ไม่ถึง 2 ชั่วโมง/สัปดาห์) ก็ทำให้ผู้ถูกสอบถามมีสุขภาพจิตดีกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย อย่างมีนัยสำคัญ (กราฟมีความชันสูงมากในช่วงแรก)
2) การออกกำลังกายมากกว่า 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ ยังคงทำให้สุขภาพจิตดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ด้วยความแตกต่างที่ไม่มากเท่าช่วงแรก (กราฟมีความชันลดลง)
3) ถ้าออกกำลังกายมากขึ้นเกิน 7.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ คะแนนสุขภาพจิตจะเริ่มแย่ลงเมื่อเทียบกับก่อนหน้านี้ แต่ยังถือว่ามีสุขภาพจิตดีอยู่ (คะแนนความหดหู่น้อยกว่า 0)
4) ถ้าออกกำลังกายมากขึ้นอีกเป็น 25 ชั่วโมง/สัปดาห์ สุขภาพจิตจะอยู่ในระดับเดียวกับคนที่ออกกำลังกายเพียงเล็กน้อย (ในข้อ 1)
5) ถ้าออกกำลังกายจนถึงวันละ 5 ชั่วโมง (หรือ 35 ชั่วโมง/สัปดาห์) พบว่าผู้ถูกสอบถามจะมีความหดหู่ พอๆกับคนที่ไม่ได้ออกกำลังกายเลย
ดังนั้น ระยะเวลาของการออกกำลังกายที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการมีสุขภาพจิตที่ดี ควรอยู่ระหว่าง 2.5-7.5 ชั่วโมง/สัปดาห์ จะเห็นว่าไม่จำเป็นต้องหักโหมเลย ส่วนใครรักจะออกกำลังกายนานกว่านั้นก็ได้ แต่ไม่ควรเกิน 25 ชั่วโมง/สัปดาห์
สำหรับผู้อ่านที่มีคนรู้จักเป็น couch potato ที่ไม่ชอบออกกำลังกายอันใดเลย (ที่ใช้คำว่าคนรู้จัก เพราะคาดว่าผู้ที่เข้ามาหาข้อมูลจากบล็อกนี้คงออกกำลังกายกันทุกคน) เพียงแค่ชักชวนเค้ามาออกกำลังกายก็อกๆแก็กๆ อาทิตย์ละ 1-2 ชั่วโมง เค้าก็จะมีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดแล้ว จากนั้นเมื่อพร้อม จึงค่อยตะล่อมให้เพิ่มเวลาขึ้นมาอยู่ในช่วง 2.5-7.5 ชั่วโมงภายหลัง
แปลและเรียบเรียงจาก
How Much Exercise is Best for Mental Health?
How Much Exercise is Best for Mental Health?
มิน่าล่วงไหนซ้อมหนักติดกันหลายวัน อาการฟินถึงถดถ่อยเปลี่ยนเป็นหดหู่แทน ขอบคุณสำหรับบทความดีๆค่ะ :)
ReplyDeleteขอบคุณน้องฝ้ายที่เข้ามาอ่าน และช่วยเม้นต์ให้บล็อกพี่ไม่วังเวงผีหลอกเช่นกันจ้ะ ^ ^
Deleteผมวิ่ง 6-7 ชม./สัปดาห์ มาส่งเสียงเชียร์ \(^ ^)/
ReplyDeleteเยี่ยมเลยค่ะ รักษามันไว้เพื่อการวิ่งที่ยั่งยืนนะคะ เอาใจช่วยๆ
Deleteอยู่ประมาณ 7.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ .. แต่ฮั้วว่าอาการหดหู่คือ .. หดหู่ที่ไม่ได้ออกกำลังกายนะ :D
ReplyDeleteหูววว ค่า optimum เป๊ะโดยมิได้นัดหมาย ^___^
Deleteเรื่องหดหู่ ...อื้ม...ก็เป็นได้ค่ะคุณฮั้ว เพราะในงานวิจัยเค้าก็ไม่ได้ระบุว่าในแบบสอบถาม เค้าถามอะไรกันบ้าง
แค่แสดงความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ค่านี้เท่านั้น
ก็ต้องรอดูงานวิจัยอื่นๆที่มาสนับสนุนกันต่อปายยยย
ต้องไปนับ ชม. ดูหน่อยซะแล้ว
ReplyDeleteแต่ถ้ารวมวอร์ม รวมพิธีไหว้ครูก่อนวิ่งเป็นการออกกำลังด้วย
ไงๆก็น่าจะเกิน 7.5 ชม ต่อสัปดาห์เป็นแน่ >.<
นั่นสิน้องม้วน ถ้าเป็นลูกศิษย์โค้ช ยังไงก็เกิ๊นนน
Deleteไหว้ครูนานนนนนน 5555+
โอ๊ะ ออกกำลังกายพอดีเลยแฮะ ออกอาทิตย์ละ 7-8 ชั่วโมงพอดีเลยยย อิอิ
ReplyDeleteแสดงว่าค่า 6-8 ชม./สัปดาห์นี่เป็นค่ายอดฮิตเนอะ
Deleteดีใจด้วยค่า
มาร่าเริงแจ่มใสกับการออกกำลังกายกันเต๊อะ เย่ๆๆ
อ่อๆๆ ขอบคุณที่ follow blog เราด้วยนะคะ
555555+ อะไรกัน มีเซนเซอร์ด้วย
ReplyDeleteออกกำลังกายเกินกำหนดชั่วโมงอันควรแก่การร่าเริงซะแล้ว หวังผลข้ออื่นไปแทนแล้วกัน
ส่วนร่าเริงแจ่มใสค่อยมาหวังจากบลอคพี่แทน
5555555+ อิโด่ว 555555+
เออ ลืมไปจะเข้ามาทวงอัพบลอคด้วยค่า กิกิ ^^
ReplyDelete