Wednesday, October 24, 2012

ทำไมวิ่งตอนกลางคืนจึงรู้สึกเหนื่อยกว่าปกติ | 4 comments:

คอลัมน์ Newswire ของ RunnersWorld.com ได้สัมภาษณ์หัวหน้าทีมของงานวิจัยชิ้นหนึ่ง เพื่อเชื่อมโยงผลการวิจัยมาอธิบายปรากฏการณ์ที่นักวิ่งภาคกลางคืนส่วนใหญ่มักเป็นกัน นั่นคือ รู้สึกว่าวิ่งยากกว่าตอนกลางวัน



โดยในขั้นแรก ทีมวิจัยได้กำหนดสภาวะมาตรฐาน ด้วยการให้นักปั่น 15 คน ปั่นจักรยานสำหรับใช้ในฟิตเนสเป็นระยะทาง 20 กม.ด้วยความเร็วสูงสุดเท่าที่จะทำได้

หลังจากนั้นให้ทดสอบปั่น 20 กม. อีก 3 ครั้ง ในช่วงเวลาหลายวัน โดยแต่ละครั้งให้พยายามรักษาการปั่นให้ได้ความหนัก(ดูจาก average cadence และ power output) เท่ากับการปั่นที่แต่ละคนเคยทำไว้ในสภาวะมาตรฐาน แล้วสอบถามระดับความพยายามในการออกกำลังกาย (ratings of perceived exertion – RPE*) จากนักปั่นทุกๆ 4 กม. 

ในการทดสอบ 3 ครั้งหลังนี้ ขณะปั่น จะให้ผู้เข้าทดสอบดูหน้าจอซึ่งเป็นวิดีโอจำลองภาพการเคลื่อนผ่านไปบนถนน เหมือนตอนปั่นจักรยานจริงๆ โดยครั้งหนึ่งปรับความเร็วของการจำลองให้เท่ากับความเป็นจริง , ครั้งหนึ่งปรับให้เร็วกว่าความจริง 15% และ อีกครั้งหนึ่งปรับให้ช้ากว่าความจริง 15% โดยไม่บอกให้นักปั่นรู้ และไม่เรียงลำดับ

พบว่า ในขณะที่อัตราการเต้นของหัวใจและความเร็วในการปั่นเท่าเดิม แต่ในการทดสอบครั้งที่แอบปรับภาพจำลองให้เคลื่อนที่ช้ากว่าความเป็นจริง นักปั่นจะรู้สึกว่าตัวเองใช้ความพยายามอยู่ที่ระดับ 14 ของ Borg Scale ซึ่งหมายถึง "ค่อนข้างหนัก” ในขณะที่ การทดสอบครั้งที่แอบปรับภาพจำลองให้เคลื่อนที่เร็วกว่าความเป็นจริง นักปั่นจะรู้สึกว่าตัวเองใช้ความพยายามอยู่ที่ระดับ 15 หรือ “หนัก”


ผลการทดลองสามารถนำมาอธิบายเรื่องวิ่งตอนกลางคืนได้ดังนี้

เมื่อวิ่งกลางคืนท่ามกลางความมืดหรือมีแสงสว่างไม่ทั่วถึง เราจะเห็นวัตถุเฉพาะที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้น ดังนั้นเมื่อเราวิ่ง จะรู้สึกว่าวัตถุผ่านตัวไปเร็วกว่าเมื่อเทียบกับตอนกลางวัน ดังนั้นคนที่ฝึกซ้อมวิ่งตอนกลางคืนส่วนมาก จึงมักจะรู้สึกว่าตัวเองต้องใช้ความพยายามมากกว่า(หรือหมายถึง เหนื่อยกว่า) เมื่อเทียบกับซ้อมตอนกลางวัน (ยังไม่นับรวมปัจจัยเรื่อง ต้นไม้คายคาร์์บอนไดออกไซด์, ถนนคายความร้อน และอื่นๆ ที่ว่ากันว่าทำให้การวิ่งกลางคืนมีประสิทธิภาพลดลง)

และด้วยเหตุผลนี้เราอาจอธิบายในอีกมุมหนึ่งได้ว่า การวิ่งในที่โล่ง จะรู้สึกว่าวิ่งสบายกว่าในเมืองที่มีตึก และเสาไฟอยู่ใกล้ตัว

************************

ratings of perceived exertion - RPE เป็นการวัดความหนักในการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ต่างกับวิธีอื่นตรงที่ไม่ได้วัดจากพารามิเตอร์ของร่างกายโดยตรง (เช่นอัตราการเต้นของหัวใจ, ความยากในการพูด(talk test)) แต่เป็นการวัดจากความรู้สึกของผู้ถูกทดสอบเอง ตัวอย่างของ RPE ที่ใช้กันแพร่หลายก็เช่น Borg Scale โดยถ้าตอบแบบสอบถามโดยระบุค่าสูง แปลว่าผู้ถูกทดสอบรู้สึกว่าตัวเองเหนื่อยมาก ต้องใช้ความพยายามมาก ในการออกกำลังกายครั้งนั้นๆ

แปลและเรียบเรียงจาก

4 comments:

  1. ขอบคุณสำหรับความรู้และสาระดีๆครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบคุณค่ะคุณโจ้
      ดีใจที่บล็อกนี้มียังประโยชน์อยู่บ้าง 555+
      จะพยายามเขียนหัวข้อนี้ให้ได้เยอะๆ สนุกดีค่ะ ชอบๆ
      โปรดติดตามต่อไปด้วยใจระทึกพลัน

      Delete
  2. อ. ป้อมคะ อย่างนี้วิ่งตอนเช้ามืด ตี 4-5 ก่อนพระอาทิตย์ขึ้นก็มีผลแบบเดียวกันกะตอนกลางคืนหรือเปล่าคะ
    ฝ้ายรู้สึกว่าวันไหนซ้อมเช้ามืด จะต้องใช้ความพยายามมากกว่าซ้อมช่วงเช้าหลังพระอาทิตย์ขึ้นอ่ะค่ะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ถ้าตามบทความก็น่าจะเป็นอย่างนั้นจ้ะ
      ตอนไหนที่มืดมันจะรู้สึกเหนื่อยกว่าตอนสว่าง

      คราวหน้าแก้เหนื่อยโดยการให้แฟนน้องฝ้ายส่องไฟฉายให้ตลอดทาง ก็น่าจะเวิร์คเนะ อิอิ

      Delete

*************************************************************************************
ผักกาดๆ ถ้าข้อความไม่ขึ้น นั่นแปลว่า blog คิดว่าข้อความของท่านเป็น spam ไม่ต้องกังวลค่ะ comment เหล่านี้จะตกไปอยู่ที่กล่อง spam รอให้เจ้าของ blog มาตรวจสอบ (ก็คือเรานั่นเอง ^ ^)
*************************************************************************************

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...