หน้าเว็บ

Thursday, June 19, 2014

ทดสอบความฟิตด้วย recovery heart rate

ใครที่ใช้นาฬิกา GARMIN Forerunner บางรุ่น (เท่าที่รู้คือ FR610, FR310XT, FR910XT, FR220, FR235, Fenix) ถ้าวันดีคืนดีเกิดใช้งานร่วมกับ Heart Rate Monitor เมื่อวิ่งเสร็จแล้วกดหยุด แต่ลืมกด save คุณอาจสังเกตเห็นว่า เมื่อเวลาผ่านไปสักครู่ จะมีข้อความขึ้นที่หน้าปัดนาฬิกา ดังรูป

2-minute Heart Rate Recovery จากนาฬิกา Garmin
2-minute Heart Rate Recovery จากนาฬิกา Garmin Forerunner 220
หลังจาก workout http://www.endomondo.com/workouts/359163931/862998

สงสัยกันหรือเปล่าคะว่ามันคืออะไร ? วันนี้เราหาคำตอบมาให้ค่ะ

Saturday, June 14, 2014

วิธีปรับความชันของ treadmill เพื่อซ้อมวิ่งขึ้นเขา

นักวิ่งที่อยู่ในเมือง บางครั้งจะเกิดอาการหนักใจเมื่อรู้ว่างานวิ่งที่กำลังจะมาถึง มีภูมิประเทศเป็นเขา เนิน หรือแม้แต่ขึ้นสะพานยาวๆ ครั้นจะซ้อมจำลองสถานการณ์จริงไปก่อน ก็ไม่รู้จะหาเนินที่ไหนมาซ้อม จะวิ่งขึ้นสะพานก็กลัวรถสอย วันนี้เรามี solution นึงมานำเสนอสำหรับนักวิ่งนครบาลอย่างเราๆ ท่านๆ นั่นก็คือ การฝึกซ้อมบนลู่วิ่งไฟฟ้า หรือที่เรียกทับศัพท์กันว่า treadmill นั่นเอง

ตัวเลข % ที่เห็นบนแผงควบคุมหมายถึงอะไร


ตามปกติแล้ว treadmill เครื่องใหญ่ๆ ตามฟิตเนส นอกจากปรับความเร็วและตั้งโปรแกรมต่างๆได้แล้ว ยังสามารถปรับความชันได้อีกด้วย เราอาจจะเห็นว่าแต่ละเครื่องมีชื่อเรียกเรียกปุ่มปรับความชันแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็น grade/ incline/ ascend/ elevate แต่ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ถ้าตัวเลขที่แสดง มีหน่วยเป็น % มันจะหมายถึง "%gradient" เสมอ

ปุ่มปรับความชันของลู่วิ่งสายพาน
แผงควบคุมของลู่วิ่งไฟฟ้า ชนิดที่สามารถปรับความชันได้

Thursday, June 5, 2014

วิ่งทันโลก 12: มารู้จักโอเรียนเทียริง (Orienteering) กันเถอะ

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนเมษายน 2557
โดย oorrunningblog


สองสามปีก่อน เคยมีคนปรารภในเว็บบอร์ดของชมรมวิ่งแห่งหนึ่งว่า ไม่ชอบกีฬาวิ่งเพราะรู้สึกว่าไม่ได้ใช้สมองอะไร ใช้แต่กำลังอย่างเดียว กระทู้นี้ร้อนแรงยิ่งนัก เพราะสามารถตีความให้รู้สึกเหมือนโดนด่าทางอ้อมได้ ว่าที่ตนเองวิ่งเก่งหรือหลงใหลการวิ่งอยู่ในขณะนี้ ก็เพราะเป็นมนุษย์ประเภทสมองน้อย- กำลังเยอะ 

นักวิ่งโอเรียนเทียริง กำลังออกจากจุดควบคุม
Cr. portugueseorienteeringblog

แต่จากการซ้อมวิ่งเกือบทุกวัน เดือนละ 200 กม. ขึ้นไป เราในตอนนั้นที่เพิ่งติดวิ่งใหม่ๆ กลับเห็นสอดคล้องกับเจ้าของกระทู้ ว่าในขณะวิ่ง-ไม่ว่าจะแข่งหรือซ้อม ไม่มีกลยุทธ์ใดๆ ทั้งนั้น ที่จะต้องผลิตจากสมอง สิ่งที่ต้องผลิตมีก็แต่เพียง “กำลัง”เท่านั้น ทั้งกำลังกายและกำลังใจ และถ้าอยากเป็นผู้ชนะ คุณก็เพียงต้องทำสถิติให้ดีกว่าคู่แข่ง...ตรงไปตรงมาเพียงเท่านี้... แต่นั่นก็ไม่ได้แปลว่าการวิ่งเป็นกีฬาของคนไม่มีสมอง เพียงแต่เราเก็บสมองไว้ทำเรื่องอื่นที่จำเป็นเท่านั้น และอันที่จริง รอบตัวเราก็มีการแข่งขันทำนองนี้เยอะแยะอาทิเช่น ประกวดนางงามก็ต้องเฟ้นหาคนที่สวย ประกวดนักร้องก็ต้องเฟ้นหาคนที่เสียงดี จะมีประโยชน์อะไรถ้าได้นางงามหน้าปลวก นักร้องเสียงเป็ดแต่ไอคิว 180 

อย่างไรก็ตาม โลกนี้ยังมีการแข่งขันวิ่งอีกแบบที่ต้องใช้สมองด้วย และวันนี้วิ่งทันโลกจะแนะนำให้ได้รู้จักกันค่ะ มันคือโอเรียนเทียริง (Orienteering) หรือเรียกอีกอย่างว่า การวิ่งแผนที่เข็มทิศ นั่นเอง