Wednesday, December 23, 2015

วิ่งไปอ่านไป 2: รู้งี้ผอมไปนานแล้ว! | 4 comments:

ผู้แต่ง: สาธิก ธนะทักษ์ (โค้ชเป้ง)


หนังสือ รู้งี้ผอมไปนานแล้ว!
หน้าปกคือจะสื่อว่า มาถองไขมันให้กระจายกันเถอะ!! ชิมิ ^ ^

Friday, December 4, 2015

วิ่งทันโลก 28: หัวใจเลื่อนลอย (Cardiovascular Drift) | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก

Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน 2558
โดย oorrunningblog


อาการนี้นักวิ่งเคยเป็นกันทุกคน ไม่ใช่อาการที่เกิดเมื่อวิ่งตามหลังสาวสวยหรือเมื่อเหนื่อยจนเบลอ แต่เกิดกับ “หัวใจ” ที่อยู่ในอกข้างซ้ายของเราจริงๆ ไม่ใช่ที่สมอง และเป็นสิ่งสำคัญที่นักวิ่งซึ่งฝึกซ้อมด้วยโซนหัวใจ (Heart Rate Training Zone) ควรรู้จักไว้

CV drift Heart Rate Drift

Friday, November 6, 2015

วิ่งทันโลก 27: HRV กับนักวิ่ง | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก

Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนตุลาคม 2558
โดย oorrunningblog


แวบแรกที่อ่านหัวเรื่อง เชื่อว่านักวิ่งร้อยละ 99 ต้องงงแน่นอน HRV นี่มันอะไรเหรอ? หมายถึง HIV หรือเปล่า? ...ไม่ค่ะ แล้วก็ไม่ใช่ Heart Rate Monitor - HRM ด้วย เกริ่นไว้ตรงนี้ก่อนว่า มันคือค่าที่ในอนาคต จะถูกใช้อย่างแพร่หลายขึ้นเรื่อยๆ ในวงการกีฬา ดังนั้นวิ่งทันโลกจึงขอเอามาเล่าให้ฟังก่อนใคร อ่านไว้ทันสมัยแน่นอน

HRV กับนักวิ่ง


Friday, October 2, 2015

คู่มือภาษาไทยนาฬิกา GPS Garmin Forerunner | 10 comments:

คู่มือภาษาไทย นาฬิกา GPS สำหรับนักวิ่ง Garmin 

รุ่น Forerunner 220






คู่มือภาษาไทย นาฬิกา GPS สำหรับนักวิ่ง Garmin 

รุ่น Forerunner 225





Friday, September 4, 2015

วิ่งทันโลก 26: การฟื้นสภาพนั้นสำคัญไฉน | 7 comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนสิงหาคม 2558
โดย oorrunningblog



เพื่อนนักวิ่งที่เข้าวงการใหม่ๆ คงเคยได้ยินคำเตือนจากรุ่นพี่ว่าห้ามวิ่งติดกันทุกวัน อย่างน้อยใน 1 สัปดาห์ต้องมีวันพักบ้างสักวันก็ยังดี หรือ ไม่ควรวิ่งหนักติดกัน 2 วัน ถ้าวันนี้ลงคอร์ตหรือวิ่งยาว วันพรุ่งนี้ต้องวิ่งสบายๆ เหตุผลเบื้องหลังของคำเตือนเหล่านี้ก็คือ ต้องการให้ร่างกายเกิดการฟื้นสภาพนั่นเอง

ถามว่า แล้วถ้าร่างกายเราไหวล่ะ เราจะวิ่งทุกวันได้มั้ยจะได้ผอมเร็วๆ หรือเราจะซ้อมโหดๆติดกันไปเลย ได้มั้ยจะได้เก่งเร็วๆ คำตอบคือ ไอ้ที่คิดว่า “ร่างกายไหว” น่ะ มันไหวจริงมั้ย แล้วจะไหวไปอีกนานแค่ไหน 

ในช่วงแรกๆ ร่างกายอาจฟื้นสภาพ (Recovery) ได้ทันเพราะต้นทุนที่มีอยู่คือกล้ามเนื้อที่สดใหม่ แต่เมื่อเราใช้งานมันแบบไม่ให้พักผ่อน กล้ามเนื้อจะเริ่มอ่อนแอลงเรื่อยๆ เวลาที่ต้องใช้ในการฟื้นสภาพก็จะนานขึ้น จาก 1 วันเป็น 2 หรือ 3 วัน ถ้าเรายังดึงดันใช้งานก่อนที่มันจะฟื้นสภาพเสร็จ ก็เปรียบเสมือนโดดบันจี้จั๊มป์ด้วยเชือกเปื่อยๆ นั่นเอง... หายนะรออยู่ข้างหน้าแล้ว... แทนที่จะได้ผอมทันใจหรือเก่งทันใจ ก็ต้องหยุดวิ่งไปเป็นเดือนเพราะบาดเจ็บในที่สุด

การฟื้นสภาพไม่ได้สำคัญต่อกล้ามเนื้อเท่านั้น ยังสำคัญกับความฟิตอีกด้วย สำหรับเพื่อนนักวิ่งที่ฝึกซ้อมเพื่อเป้าหมายเรื่องเวลาหรือสมรรถภาพทางกีฬา เรื่องที่จะเล่าต่อไปนี้มีประโยชน์อย่างยิ่ง 


การฝึกซ้อมทำให้เราพัฒนาความฟิตได้อย่างไร
คลิกที่รูปเพื่อขยาย ดัดแปลงจาก runneracademy

Friday, August 7, 2015

วิ่งทันโลก 25: มาเดินกันเถอะนักวิ่งออฟฟิศ | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนกรกฎาคม 2558
โดย oorrunningblog



ยังจำเรื่อง เก้าอี้พิฆาต ที่เคยเล่าไว้ในวิ่งทันโลกฉบับเดือนกรกฎาคมปีที่แล้วได้มั้ยคะ ที่สรุปไว้ว่า ถึงคุณจะวิ่งมากแค่ไหน แต่ถ้ายังนั่งมากเกินไป ก็อันตรายอยู่ดี คนที่มีความเสี่ยงจะนั่งมากเกินไปลำดับต้นๆ ก็คือพนักงานออฟฟิศอย่างเราๆ นี่แหละค่ะ

ผ่านมาหนึ่งปีเต็ม มีนักวิ่งออฟฟิศคนไหนปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไปแล้วบ้างคะ ยืดเส้นยืดสายบ่อยขึ้นมั้ย? มีโต๊ะยืนทำงานกันหรือยัง? ใช้ชีวิตนอกสนามวิ่งให้แอคทีฟมากขึ้นหรือเปล่า? ถ้าทำแล้วก็ขอยินดีด้วยค่ะ แต่ถ้ายังไม่ทำ วันนี้วิ่งทันโลกจะมาปลุกใจกันอีกครั้ง ด้วยงานวิจัยและเทรนด์ใหม่ล่าสุด ที่จะทำให้ก้นคุณแตะเก้าอี้น้อยลง มาดูกันเลยค่ะว่าเราจะบูรณาการการเดินเข้ากับการทำงานได้ยังไง

Friday, July 3, 2015

วิ่งทันโลก 24: มาวิ่ง (สลับเดิน) มาราธอน กันเถอะ | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนมิถุนายน 2558
โดย oorrunningblog



เพื่อนนักวิ่งหลายคนคงเคยได้ยินแผนการวิ่งมาราธอนที่เรียกว่า “วิ่งสด” กันมาแล้วใช่มั้ยคะ สำหรับเรา เคยอ่านเรื่องนี้จากบทความของลุง กฤตย์ ทองคง เจ้าของคอลัมน์ “วิ่งให้ดีต้องมีโค้ช” ใน Thai Jogging ของเรานี่เอง ในบทความดังกล่าว ท่านได้อ้างอิงไว้ว่าเป็นแนวคิดของ Jeff Galloway ที่เขียนไว้เมื่อ 17 ปีที่แล้ว

พูดอย่างรวบรัด “วิ่งสด” คือการวิ่งสลับเดินอย่างมีแบบแผนตั้งแต่เริ่มออกสตาร์ท ไม่ใช่รอจนอ่อนเปลี้ยวิ่งไม่ไหวแล้วค่อยเดิน ส่วนแบบแผนที่ว่า อาจเป็น วิ่ง 2 กิโลเมตรสลับเดิน 1 นาที หรือ วิ่ง 1 กิโลเมตรสลับเดิน 30 วินาที หรืออื่นๆ ...ยังไงก็ได้แล้วแต่เราจะออกแบบ

Monday, June 29, 2015

รีวิวนาฬิกา Wellograph | 4 comments:



Cr. wellograph.com


รีวิวนี้ไม่เน้นรูปถ่ายนะคะ อยากดูรูปนาฬิกาในทุกแง่มุม ดูได้จากรีวิวอื่นโดย search ด้วยคำว่า “Wellograph รีวิว” มีในอินเตอร์เน็ตเพียบค่ะ “แกะกล่อง” ก็ไม่มี เพราะไม่รู้จะให้ดูของอื่นในกล่องไปทำไม

รีวิวนี้จะเน้นไปที่การใช้งาน โดยจะลงรายละเอียดว่า activity tracker ในรูปแบบนาฬิกาตัวนี้ทำอะไรได้บ้าง พร้อมทั้งให้ความรู้เพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง แบบที่คุณจะไม่เจอในรีวิวอื่นๆ และปิดท้ายด้วยความเห็นส่วนตัวจากการได้ทดลองใช้ประมาณ 3 สัปดาห์ มาดูกันเลยดีกว่าค่ะ

Friday, June 5, 2015

วิ่งทันโลก 23: มาวิ่งอัลตร้ากันเถอะ | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนพฤษภาคม 2558
โดย oorrunningblog


การวิ่งอัลตร้ามาราธอน หมายถึงการวิ่งในระยะใดๆ ก็ตามที่เกินฟูลมาราธอนหรือ 42.195 กม. ในทางปฏิบัติ ระยะทางจะมีตั้งแต่ระดับ 50 ไปจนถึงหลายร้อยกิโลเมตร ส่วนภูมิประเทศก็มีตั้งแต่ถนนธรรมดา เทรลขึ้นเขาลงห้วย ทะเลทราย ไปจนถึงขั้วโลก 

Cr.ดาบทอง ชมรมวิ่งบางขุนเทียน


มันจะเป็นไปได้อย่างไร?


นักวิ่งที่เข้าเส้นชัยฟูลมาราธอนอย่างหมดสภาพ ส่วนมากคงจินตนาการไม่ออกว่าจะวิ่งมากกว่านี้อีกแม้แต่กิโลเมตรเดียวได้ยังไง? แล้ววิ่งเป็นร้อยกิโลเมตรรวดเดียวจบมันต้องทำอีท่าไหน? ลองรำลึกความหลังดูสิคะ ยังจำวันที่เริ่มวิ่งใหม่ๆได้หรือเปล่า แค่ 10 กม.คุณก็คิดว่าไกลสุดๆ แล้ว ส่วนฟูลมาราธอนนั้นเลิกคิดไปได้เลย แต่ด้วยความอดทน การฝึกซ้อมที่ถูกต้องเพียงพอ และการที่เราค่อยๆ เพิ่มระยะวิ่งยาวขึ้นทีละนิด วันหนึ่งคุณก็ไปถึงมาราธอนจนได้ 

การซ้อมเพื่อวิ่งอัลตร้าฯ ก็ไม่แตกต่างกัน...คุณแค่ต้องวิ่งให้ช้าลง ควบคุมหัวใจให้เต้นช้าลง และฝึกเดินให้ดีพอๆ กับฝึกวิ่ง เพราะในการแข่งอัลตร้าฯ เราต้องเดินกันเยอะเลยล่ะ ส่วนเรื่องสถิติและการแข่งขันให้ลืมไปก่อน อัลตร้าฯเป็นเรื่องของความภาคภูมิใจส่วนตัว ความผูกพันธ์ระหว่างบัดดี้ และการไปถึงเส้นชัยให้ได้

Monday, May 11, 2015

การฝึกซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 6 | 3 comments:


City Run วันฉัตรมงคล
Cr. Apicharn Oun Sirichote

วันจันทร์ที่ 4 พฤษภาคม 2558: พัก


ผลการฝึกซ้อม: วิ่ง City Run งานฉลองวันฉัตรมงคล ระยะทาง 10.22 กม. เวลา 1:39 ชม.

จริงๆวันนี้ต้องพัก แต่จำเป็นต้องวิ่งเพราะเป็นหนึ่งในทีมงานผู้จัด ก็เลยต้องสลับเอาวันพักไปไว้พรุ่งนี้แทน ถือว่าได้ 0.5 คะแนน เพราะจริงๆแล้วพรุ่งนี้เป็น interval

Monday, May 4, 2015

การฝึกซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 5 | 7 comments:


ตารางฝึกซ้อมพัทยามาราธอนสัปดาห์ที่ 5
ตารางฝึกซ้อมพัทยามาราธอนสัปดาห์ที่ 5
คลิกที่ภาพเพื่อขยาย

ไม่ได้วิ่งเลยตั้งแต่วันพฤหัสสัปดาห์ที่แล้ว รอให้เอ็นใต้ตาตุ่มหายสนิท กระโดดขาเดียวได้แล้วก็ไม่วิ่ง หมุนเท้าตามมุมต่างๆไม่ตึงแล้วก็ยังไม่วิ่ง รออีก 2 วันถึงลองวิ่งเป็นครั้งแรก...ไม่ใช่อะไรหรอก...กลัวโดนเก็บตังค์ 555+ (อ่านบันทึกการซ้อมสัปดาห์ที่ 4 ค่ะ ถ้าไม่เก็ท) ดังนั้นสัปดาห์นี้จึงได้วิ่งวันเดียวเท่านั้น คือวันสุดท้ายเลย

วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม 2558: วิ่งยาว 1 ชั่วโมง 30 นาที HR ในช่วง 148-162 bpm

ผลการฝึกซ้อม: วิ่งระยะทาง 12:45 กม. เวลา 1:30 ชั่วโมง เพซเฉลี่ย 7:12 นาที/กม. 


ซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่5วันที่7
http://app.endomondo.com/workouts/514768036/862998

Friday, May 1, 2015

วิ่งทันโลก 22: 3 อัลตร้ามาราธอนสุดโหดของโลก | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนเมษายน 2558
โดย oorrunningblog


เชื่อว่าถึงวันนี้ หลายคนคงเริ่มเตรียมตัวสำหรับงานสวนพฤกษ์อัลตร้ามาราธอน 10 ชั่วโมง ที่จะจัดขึ้นต้นเดือนหน้าแล้วใช่มั้ยคะ งานวิ่งตากแดดในเดือนพฤษภาคม ที่อุณหภูมิทะลุขึ้นไปสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส แต่คนแย่งกันสมัครจนประเภทเดี่ยวเต็มโควตาภายใน 2 วัน...นี่แหละค่ะนักวิ่ง...ยิ่งโหดก็ยิ่งท้าทาย วันนี้วิ่งทันโลกก็เลยเอาการแข่งขันอัลตร้ามาราธอนสุดโหด ที่นักวิ่งอัลตร้าฯ ทั่วโลกรู้จักกันดีมาเล่าสู่กันฟัง เผื่อว่าจบงานสวนพฤกษ์แล้วมีใครอยากมองหางานที่ท้าทายยิ่งๆ ขึ้นไป จะได้เริ่มเตรียมตัวและเตรียมตังค์กันเลย

Badwater Ultramarathon


Badwater Marathon


Friday, April 24, 2015

วิ่งกับเดินด้วยความเร็วเท่ากัน จะเผาผลาญเท่ากันหรือไม่ | No comments:

เป็นคำถามที่อ่านเจอในเว็บ pantip ค่ะ จขกท.เค้าถามไว้ว่า

เราออกกำลังด้วยการเดินเร็ว pace ประมาณ 9-10 min/km ประมาณ 1 ชั่วโมง
เห็นมีคนวิ่งช้าๆ เร็วกว่าเราไม่เท่าไหร่
เลยสงสัยว่าผลที่ได้จะเหมือนกันมั้ยน่ะค่ะ

ถ้าอนุมานว่า"ผลที่ได้"หมายถึง ปริมาณแคลอรี่ที่เผาผลาญ ผู้อ่านก็น่าจะพอเดาได้นะคะ ว่าเดินกับวิ่งด้วยความเร็วเท่ากัน อย่างไหนจะเผาผลาญมากกว่า...ติ๊กต่อก ติ๊กต่อก...เดาว่า "วิ่ง" ใช่มั้ยคะ 

moviewriternyu.wordpress.com

Monday, April 20, 2015

การฝึกซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 3 | 4 comments:



ตารางฝึกซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 3
คลิกที่รูปเพื่อขยาย

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน 2558: โยคะหรือพิลาทีส ไม่กำหนดเวลา

ผลการฝึกซ้อม: ไม่ได้ซ้อม เพราะเอาเวลาไปวิ่งยาวซ่อมตารางเมื่อวานแล้ว
=====================================

Monday, April 13, 2015

การฝึกซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 2 | 6 comments:


ตารางซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 2
คลิกที่รูปเพื่อขยาย

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน 2558: โยคะหรือพิลาทีส ไม่กำหนดเวลา

ผลการฝึกซ้อม: ไม่ได้ซ้อม อยากฟื้นสภาพให้เพียงพอเพราะเมื่อวานวิ่ง 42 กม.มา
=====================================

Monday, April 6, 2015

การฝึกซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 1 | 6 comments:


ตารางซ้อมพัทยามาราธอน สัปดาห์ที่ 1

วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม 2558: ครอสเทรนนิ่ง 40 นาที

ผลการฝึกซ้อม: ไม่ได้ซ้อม เพราะเข้าใจผิดว่ายังไม่ได้เริ่มตาราง
=====================================

Friday, April 3, 2015

วิ่งทันโลก 21: วิ่งฟรุ้งฟริ้งก็อายุยืนได้ | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนมีนาคม 2558
โดย oorrunningblog



ฉบับที่แล้ววิ่งทันโลกได้พูดถึง ที่สุดแห่งปี 2014 ของวงการวิ่งมาราธอน ซึ่งจัดอันดับโดยนิตยสาร Runner’s World อันที่จริงเค้าจัดอันดับไว้หลายสาขาแต่เราเอามาเล่าเพียงบางส่วนเท่านั้น ในฉบับเดือนมีนาคมนี้จึงได้เลือกอีกหนึ่งสาขาที่น่าสนใจมาขยายความให้อ่านกันค่ะ ซึ่งก็คือ งานวิจัยแห่งปี 2014 นั่นเอง

งานชิ้นนี้มีชื่อว่า Leisure-Time Running Reduces All-Cause and Cardiovascular Mortality Risk หรือแปลเป็นไทยแบบเข้าใจง่ายๆ ว่า วิ่งฟรุ้งฟริ้งก็อายุยืนได้ สรุปใจความคือ

การวิ่งเพียงวันละ 5-10 นาที ช้าๆ สามารถลดความเสี่ยงต่อการตายก่อนวัยอันควรจากทุกสาเหตุ และการตายจากโรคหัวใจอย่างมีนัยสำคัญ
วิ่งฟรุ้งฟริ้ง ก็อายุยืนได้

Friday, March 6, 2015

วิ่งทันโลก 20: 5 ที่สุดแห่งปี 2014 ของวงการวิ่งมาราธอน | No comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2558
โดย oorrunningblog



เข้าเดือนที่สองของปี 2015 แล้ว หวังว่าคงยังไม่สายเกินไปนะคะถ้าวิ่งทันโลกจะนำเสนอที่สุดแห่งปี 2014 ของวงการวิ่งมาราธอน การจัดอันดับนี้อ้างอิงจากการคัดสรรโดยนิตยสาร Runner’s World ของสหรัฐอเมริกา ดังนั้นถ้ามีสาขาใดที่ผู้ชนะขัดแย้งกับความรู้สึกของท่านผู้อ่าน ก็ไปกระชากมงฯจากฝรั่งเอาเองนะคะ ข้าพเจ้าไม่เกี่ยว 555+ เอาล่ะ เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลา เรามาเริ่มกันเลยดีกว่า

1) นักวิ่งแห่งปี: เม็บ เคเฟลซิกี (MEB KEFLEZIGHI)


BIB ของ MEB ในบอสตันมาราธอน 2014
BIB ของ MEB ในบอสตันมาราธอน 2014

Friday, February 6, 2015

วิ่งทันโลก 19: 3 หลุมพรางของนาฬิกา GPS | 2 comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนมกราคม 2558
โดย oorrunningblog


เชื่อว่านักวิ่งที่เข้าสู่วงการในช่วง 3 ปีหลังมานี้ เกินครึ่งน่าจะมีอุปกรณ์วัดระยะทางและความเร็วในการวิ่ง ไม่ว่าจะเป็นนาฬิกา GPS หรือแอพลิเคชันในสมาร์ทโฟน

อุปกรณ์นี้มีประโยชน์มากมาย สำหรับผู้เขียน รักนาฬิกา GPS ตรงที่มันช่วยบันทึกระยะทางและรูปแบบการฝึกซ้อม แล้วประมวลผลเป็นสถิติในด้านต่างๆ ที่สามารถเรียกดูทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างง่ายดาย ไม่ต้องหาสมุดจด ไม่ต้องทำฐานข้อมูลเอง นอกจากนี้ยังทำให้การฝึกซ้อมแบบอินเทอร์วาลสะดวกขึ้นอีกด้วย เพราะสามารถวิ่งที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องวิ่งในสนาม 400 เมตรเพื่อใช้เป็นระยะอ้างอิง

อย่างไรก็ตาม เราควรใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน มิฉะนั้นอาจจะตกหลุมพรางทั้ง 3 ประการ ของนาฬิกา GPS ดังต่อไปนี้ได้

ใช้เทคโนโลยีอย่างรู้เท่าทัน

Friday, January 2, 2015

วิ่งทันโลก 18: เริ่มจากเดินอยู่กับที่ จนวันนี้เขาจบฮาล์ฟมาราธอน | 6 comments:

คอลัมน์วิ่งทันโลก
Thai Jogging Magazine ฉบับประจำเดือนพฤศจิกายน 2557
โดย oorrunningblog



กลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมามีชายน้ำหนัก 107 กก.คนหนึ่ง ลงแข่งฮาล์ฟมาราธอนเป็นครั้งแรกในชีวิตของเขาค่ะ อาจจะฟังดูธรรมดา แต่ถ้าบอกว่าเมื่อสองปีที่แล้ว เขาหนัก 283 กก. ซึ่งคนหนักขนาดนี้ แค่เดินก็ยากแล้ว แต่วันหนึ่งเขาตัดสินใจปฏิวัติตัวเอง โดยใส่การออกกำลังกายเข้าไปตั้งแต่แรกของการลดน้ำหนัก และผลของการเก็บเล็กผสมน้อยเป็นเวลา 2 ปีนี่เอง ทำให้เขามาถึงวันนี้ได้ ...เริ่มน่าสนใจมากขึ้นแล้วใช่มั้ยคะ วิ่งทันโลกฉบับนี้ขอเล่าเรื่องของเขาเพื่อเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้อ่านน้ำหนักเกิน ที่กำลังจะเริ่ม “วิ่งสู่ชีวิตใหม่” แบบชายผู้นี้กันค่ะ

ไบรอัน เฟลมมิง คือชื่อของเขา ชายวัย 32 ปีจากรัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา เขาอ้วนตั้งแต่เด็ก พ่อแม่ก็อ้วน แต่เริ่มมาอ้วนแบบหยุดไม่อยู่หลังจากจบมัธยมปลาย ความอ้วนทำให้เขาเป็นโรคผิวหนังอักเสบ (cellulitis) ที่ขา ต้องเทียวเข้าออกโรงพยาบาลอยู่เนืองๆ ความดันสูงในระดับที่เป็นอันตราย และใกล้จะเป็นเบาหวานอยู่รอมร่อ ในที่สุดความทุกข์เกี่ยวกับสุขภาพก็ทำให้เขาเป็นโรคซึมเศร้า ติดเหล้าเรื้อรัง และต้องออกจากการเรียนมหาวิทยาลัยในที่สุด

ไบรอัน เฟลมมิง ตอนหนัก 283 กก
Before

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...