Friday, June 24, 2011

60 วันกับโค้ช เซ็ทที่ 1 | 2 comments:

สิ่งที่ต้องปฏิบัติทุกครั้ง ก่อนและหลังการซ้อมวิ่ง

1. วิ่งเหยาะๆช้าๆ ก่อนการซ้อมทุกครั้ง 20 นาที
2. ยืด - เหยียดและกายบริหารโดยเน้น ลำตัว แขน ขา
3. หลังการซ้อมต้องวิ่งเหยาะๆ ช้าๆ อย่างน้อย 20 นาที
4. กายบริหารและยืด - เหยียด ทุกครั้งหลังการซ้อม

Thursday, June 16, 2011

การบริหารมือและข้อมือ หลังจากถอดเฝือก | 21 comments:

ต้องพยายามฝืนทำให้บ่อยเท่าที่จะนึกได้ ก่อนการบริหารอาจนวดด้วยเจลที่ให้ความร้อนเพื่อช่วยคลายกล้ามเนื้อให้ยืดหยุ่นขึ้น หมอสั่ง corilax ให้กิน 3 เวลาหลังอาหารเพื่อช่วยคลายเส้นเอ็นด้วยอีกทาง 

ภาพนิ่ง
ท่าบริหารมือ และข้อมือ, ถอดเฝือก, แขนหัก

หนึ่งเดือนกับแขนเดียว ภาค mission | 2 comments:

จันทร์ที่ 16 พ.ค. แขนหัก
พุธที่ 18 พ.ค. เข้าเฝือก

วันที่ 8 หลังจากเข้าเฝือก เริ่มออกกำลังกายเบาๆ ด้วยการปั่นจักรยานในยิม อย่างต่ำวันละ 40 นาที
วันที่ 11 หลังจากเข้าเฝือก เพิ่มการเดินบนสายพานด้วยความชัน 6% ความเร็วระหว่าง 6.0-6.5 km/h เพื่อให้หัวใจขึ้นถึงระดับ >150 bpm รวมแล้วออกกำลังอย่างต่ำวันละ 1 ชั่วโมง
วันที่ 21 หลังจากเข้าเฝือก เพิ่มการวิ่งบนสายพาน ความเร็วระหว่าง 7.0-8.0 km/h รวมแล้วออกกำลังกายอย่างต่ำวันละ 1.5 ชั่วโมง




หมายเหตุ การออกกำลังกายในขณะใส่เฝือกต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์นะคะ อ่านเพิ่มเติมได้ที่โพสต์ ใส่เฝือกอยู่จะวิ่งได้มั้ย

พุธที่ 15 มิ.ย. ถอดเฝือก วัดอัตราการเต้นหัวใจขณะพักได้ 59 bpm เท่ากับก่อนบาดเจ็บ ลองวิ่งด้วยความเร็ว 6:40 นาที/กม. พบว่าอัตราการเต้นของหัวใจไม่แตกต่างจากก่อนบาดเจ็บ

สรุป mission complete 


Thursday, June 9, 2011

ใส่เฝือกอยู่จะวิ่งได้มั้ย | 7 comments:


สำหรับนักวิ่ง การต้องหยุดวิ่งไม่ว่าจะด้วยอาการบาดเจ็บใดๆ ช่างเป็นเรื่องที่แสนทรมาน นักวิ่งมักถูกชักนำจากความเป็นห่วงความฟิตของตนเอง หรือไม่ก็จากสารแห่งความสุขอย่างเอนโดฟิน ให้พยายามหาหนทางกลับมาวิ่งให้เร็วที่สุด 

เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าในกรณีที่บาดเจ็บกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นเนื่องมาจากการวิ่ง เราจะต้องหยุดวิ่งและรักษา(หรือปล่อยไว้เฉยๆรอมันเยียวยาตัวเอง)ให้หายเสียก่อน จากนั้นควรพักต่ออีกเป็นเวลาเท่ากับที่บาดเจ็บมา  แต่ถ้าเป็นการบาดเจ็บจากสาเหตุอื่น แต่ร้ายแรงถึงขั้นกระดูกหักจนต้องใส่เฝือกเลยล่ะ นักวิ่งจำเป็นต้องรอจนถอดเฝือก (ซึ่งอาจต้องใช้เวลาเป็นเดือนหรือมากกว่านั้น) และกระดูกเชื่อมกัน 100% (ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างต่ำ 3 เดือน) เลยหรือไม่ ... ถ้าคุณเป็นนักวิ่งใจเย็นมากกก คุณจะรอถึงวันนั้นก็ได้ แต่นักวิ่งทั่วไปใจร้อนดังเหตุผลที่กล่าวมาแล้วข้างต้น และคงต้องการคำตอบแบบอื่นมากกว่า

Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...
Related Posts Plugin for WordPress, Blogger...